สถานที่ติดต่อ

เลขที่ 4 ถนนรามวิถี ตำบลบ่อยาง

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000

เวลาทำการ

เปิดบริการ จันทร์ - ศุกร์

หยุด เสาร์ - อาทิตย์

ติดต่อเพิ่มเติม

โทร : 074-323-854

อีเมล์ : jvs_school@hotmail.com

then

sume

โรงเรียนแจ้งวิทยา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา  จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ของวัด พ.ศ.2488 ใบอนุญาตเลขที่ 8 /2503  ขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน  วันที่ 17  เดือน พฤษภาคม  พ.ศ. 2503   โดยพระวิเชียรโมลี  (แสง ญาณโสภโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดแจ้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นผู้ลงนาม ในฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาต (เจ้าของ) โดยมีคณะกรรมการ

ผู้ก่อตั้งประกอบด้วย พระครูพุทธศาสน์โสภณ  อดีตเจ้าอาวาสวัดโรงวาส ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา

จังหวัดสงขลา  อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองสงขลา     จังหวัดสงขลา   พระครูไพศาลสังฆกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังปริง    ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา อดีตเจ้าคณะอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

         พระมหาผล  จันทโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บำรุง ตำบลระโนด  อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา  อดีตเจ้าคณะอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา นายเกษม ซ้ายสุวรรณ อดีตผู้จัดการโรงเรียนแจ้งวิทยา  นายชวน  จุลมณีโชติ  อดีตภัณฑารักษ์จังหวัดสงขลา และนายว่อง  สง่ากรณ์ อดีตศึกษาธิการอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ร่วมกันจัดตั้งเป็นโรงเรียนประเภทมัธยมวิสามัญศึกษา  เปิดทำการการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6   โดยนายประพันธ์  ณ  พัทลุง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา  เป็นผู้ลงนามในใบอนุญาตและได้รับอนุญาตจากสังฆมนตรีว่าการศึกษาในปี พ.ศ. 2503 

พ.ศ. 2503 เปิดสอนครั้งแรกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้อาคารเรียนปริยัติธรรมของวัดแจ้ง  ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา  ซึ่งเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวภายในวัดแจ้ง  เป็นสถานที่เรียน

พ.ศ. 2504 ก่อสร้างอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นเดียวในวัดแจ้ง ขนาด 4 ห้องเรียน โดยมีนักเรียนเพิ่มจากเดิมเป็น 4  ห้องเรียน

พ.ศ. 2506  ต่อเติมอาคารเรียนหลังเดิมออกมาทั้ง 2 ปีก เป็นรูปตัวยู ข้างละ 3 ห้องเรียน รวมเป็น 10 ห้องเรียน มีนักเรียน 300 คน และได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวเพิ่มเติมตามจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น

พ.ศ. 2513 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้กู้เงินจำนวน 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) ก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมไม้สองชั้น 1 หลัง รวม 10 ห้องเรียน  ซึ่งเป็นอาคารเรียนถาวรหลังแรกของโรงเรียนมีนักเรียน  800  คน

พ.ศ.2515  วิทยาลัยครูสงขลา  (โรงเรียนสตรีฝึกหัดครูสงขลา) ได้ย้ายออกจากที่ธรณีสงฆ์ของวัดแจ้ง ถนนรามวิถี ตำบลบ่อยาง  อำเภอเมืองสงขลา   จังหวัดสงขลา และได้คืนที่ดินธรณี สงฆ์พร้อมทั้งมอบอาคาร ทั้งหมดให้กับวัดแจ้ง  โรงเรียนแจ้งวิทยาจึงได้ใช้เป็นที่เรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4

พ.ศ.2516 ปรับปรุงอาคารเรือนไม้ของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูสงขลา มีห้องเรียนทั้งสิ้น 15 ห้องเรียน  รวมอาคารเรียนหลังเก่าอีก 20 ห้องเรียน  รวมเป็น  35 ห้องเรียน โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนที่เรียนในอาคารเรียนนี้เป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปี่ที่ 1

ถึง ประถมศึกษาปีที่  4 และ มัธยมศึกษาปีที่ 3

พ.ศ. 2519  ขยายชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.ศ.4 –ม.ศ.5 )

          พ.ศ. 2533 ขยายชั้นเรียนในระดับชั้นอนุบาลศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเรียนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6

          พ.ศ. 2535  ยุบชั้นเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

พ.ศ. 2535 สังกัดกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2532

พ.ศ. 2532 ได้รับเงินอุดหนุนหกสิบเปอร์เซ็นต์ และไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

          พ.ศ. 2536  ได้รับเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา

          พ.ศ. 2538  สร้างอาคารเรียน เฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารแบบ 216 ล. กรมสามัญศึกษา       จำนวน 16 ห้องเรียน งบอุดหนุนค่าก่อสร้างอาคารเรียน จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณ   8,460,000  บาท (แปดล้านสี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน     

พ.ศ.2539  ได้รับเงินอุดหนุนเป็นบัตรอุดหนุนการศึกษา ร้อยเปอร์เซ็นต์ตามอัตราค่าใช้จ่ายต่อคน ต่อหัวต่อปีของนักเรียนโรงเรียนของรัฐบาล

          พ.ศ.2541  ต่อเติมชั้นล่างอาคารเรียน เฉลิมพระเกียรติ  จำนวน 8ห้องเรียน

งบประมาณ 900,000 บาท (เก้าแสนบาทถ้วน)

          พ.ศ.2543  สร้างอาคารเรียน พระราชวชิรโมลี เป็นอาคารเรียน 4 ชั้น 12 ห้องเรียน ตามแบบ 

318 ล./38/ พิเศษ กรมสามัญศึกษา กว้าง 9.50 ยาว 63 เมตร 4 ชั้น 12 ห้องเรียน งบอุดหนุนค่าก่อสร้างอาคารเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ งบประมาณ 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) และโรงเรียนได้สบทบ 1,895,000 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน) รวม 6,895,000 บาท (หกล้านแปดแสนเก้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2545  ต่อเติมชั้นล่างอาคารเรียนพระราชวชิรโมลี ใช้เป็นสำนักงานโรงเรียน และศูนย์วิทยบริการ   พระวิเชียรโมลี  (แฉล้ม  เขมปญโญ)  จำนวน  1,205,000  บาท (หนึ่งล้านสองแสนห้าพันบาทถ้วน)

พ.ศ. 2546  ก่อสร้างอาคารเรียน วิภัชธรรมคุณ (สุทิน สมพงศ์) เป็นอาคาร 4 ชั้น ยาว 83  เมตร  จำนวน  40  ห้องเรียน  ตามแบบและงบประมาณของโรงเรียน  ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  17,186,984  บาท  (สิบเจ็ดล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นหกพันเก้าร้อยแปดสิบสี่บาทถ้วน)  เงินงบประมาณจากเงินสะสมของโรงเรียนและรับบริจาคสมทบทั่วไป 

          พ.ศ. 2546 ปรับปรุงอาคาร เรือนสวัสดีเป็นเรือนไทยหลังเก่าของโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูสงขลา งบประมาณของโรงเรียน 1 ล้าน 5 แสนบาท

          พ.ศ. 2547 ย้ายนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่3) จากอาคารเรียนในบริเวณวัดเข้ามา เรียนในอาคารเฉลิมพระเกียรติ

          พ.ศ. 2547 ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ เกษม – สุนทร  เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นโรงอาหาร ชั้นบนใช้เป็นหอประชุมและโรงยิมเนเซียม ใช้งบประมาณก่อสร้าง 10,701,750 บาท (สิบล้านเจ็ดแสนหนึ่งพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)  เงินงบประมาณจากเงินบริจาคทั่วไปและเงินสมทบของโรงเรียน

          พ.ศ. 2547 โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ. รอบแรก ระหว่างวันที่ 20 ถึง 22 กันยายน

พ.ศ. 2547

          พ.ศ. 2550 โรงเรียนดำเนินการให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่งกายชุดขาว (วันธรรมสวนะ)

          พ.ศ. 2551  ย้ายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3ไปเรียน ที่อาคารเรียนคอนกรีต เสริมไม้สองชั้น ภายในวัดแจ้งเป็นการชั่วคราว

          พ.ศ. 2551 โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ.รอบสอง ระหว่างวันที่ 21 ถึง 23 มกราคม พ.ศ. 2551

          พ.ศ. 2552 ผู้บริหาร ครูบุคลากรทางการศึกษา แต่งกายชุดขาวในวันธรรมสวนะ เป็นชุดประจำโรงเรียนตามนโยบายผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน

          พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับประเทศ ด้านการสนับสนุน ช่วยเหลือ อุปถัมภ์ บริหารจัดการและขับเคลื่อนงานด้านศาสนา  ศิลปะและวัฒนธรรมในจังหวัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  ประจำปีพุทธศักราช  2552  เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม    พ.ศ.2552

          พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรด้านการมีพัฒนาการผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติ ขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาปีที่ 6  ระหว่างปีการศึกษา 2550 – 2551  เมื่อวันที่  21  ตุลาคม พ.ศ.2552

พ.ศ. 2553 ย้ายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปเรียนที่อาคารเรียนคอนกรีตเสริมไม้สองชั้น ภายในวัดแจ้งเป็นการชั่วคราว และมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาเรียนที่อาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติ

พ.ศ. 2553 สร้างอาคารเรียน พระพิศาลสิกขกิจ  (สุทิน สมพงศ์) เป็นอาคาร 5 ชั้น ประกอบด้วยห้องเรียน ห้องสำนักงาน  ห้องประกอบการวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  คอมพิวเตอร์และลานกีฬา  งบประมาณ 17 ล้านบาท (สิบเจ็ดล้านบาทถ้วน)

          พ.ศ. 2554  โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา สถานศึกษาขนาดใหญ่  จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. 2555  ย้ายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากอาคารเรียนในวัดแจ้ง กลับมาเรียนที่อาคารเรียนพระพิศาลสิกขกิจ ย้ายนักเรียนประถมศึกษาปีที่  5/1,2,3 และนักเรียนประถมศึกษาปีที่6 ไปเรียนในอาคารฝั่งวัดแจ้ง

          พ.ศ. 2555 นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึง  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่งกายชุดขาวในวันธรรมสวนะ

          พ.ศ. 2555  ขยายรับเด็กอายุ 2 ปี เข้าเรียนก่อนปฐมวัย  จำนวน 1 ห้องเรียน

          พ.ศ. 2557  โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ.รอบสาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม  2557

          พ.ศ. 2557  เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

          พ.ศ. 2558  เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

          พ.ศ. 2559  เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

          พ.ศ. 2561 เปิดห้องเรียนพิเศษตามโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และเปิดสอนสายการเรียนภาษาไทย-สังคมศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

          พ.ศ. 2562  เปิดห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program (IEP) ระดับชั้นปฐมวัย(อนุบาล1 – 3) เปิดห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program (IEP) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

          พ.ศ. 2563  เปิดห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program (IEP) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 

          พ.ศ.2563  ปรับปรุงอาคารเรียนสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ในวัดแจ้งงบประมาณโรงเรียน

จำนวน 871,634บาท  (แปดแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันหกร้อยสามสิบสี่บาทถ้วน)

          พ.ศ.2563  ปรับปรุงพื้นสนามหน้าประตูทางเข้าออกโรงเรียนและหน้าอาคารเรียน 1 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ์) จำนวนเงิน 333,900 บาท (สามแสนสามหมื่นสามพันเก้าร้อยบาทถ้วน)

          พ.ศ.2563  โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานระดับก่อนประถมศึกษาขนาดใหญ่

ประจำปีการศึกษา 2563

          พ.ศ.2564  เปิดห้องเรียนพิเศษ Intensive English Program (IEP) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

          พ.ศ.2564  เปิดห้องเรียนพิเศษตามโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สส.วท.)  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4)

          พ.ศ. 2564 โรงเรียนผ่านการประเมินคุณภาพภายนอก ภายใต้สถานการณ์ COVID – 19 จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ. รอบสี่ ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564